top of page

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษตร

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษตร

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษตร ก่อนที่เราจะไปดูประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ เรามาทำความรู้จักกับน้ำส้มควันไม้กันเถอะ น้ำส้มควันไม้ได้จากการเผาถ่านมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลมีกลิ่นควันไฟ เมื่อเรารู้จักที่มาของน้ำส้มควันไม้แล้วต่อไปเรามารู้จักกับประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้เพื่อการเกษตรซึ่งประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้มีมากมาย


ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษตร


ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษดร ซึ่งประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้มีมากมาย เช่น กระตุ้นก้อนเชื้อเห็ดเก่าให้ออกดอก กำจัดหอยทาก และ ป้องกันโรคไหม้คอรวงข้าว


1. กระตุ้นก้อนเชื้อเห็ดเก่าให้ออกดอก ก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกหมดแล้ว ส่วนใหญ่จะถูกนำไปทิ้ง แต่เรามีวิธีการที่จะทำให้ก้อนเห็ดออกดอกใหม่อีกครั้ง โดยการเอาก้อนเห็ดเก่ามาตัดพลาสติกส่วนปากถุงออก แล้วใช้น้ำสะอาดล้างราดำออก จากนั้นใช้น้ำส้มควันไม้ 15 ซีซี + กากน้ำตาล 250 มิลลิตร + น้ำเปล่า 100 ลิตร จากนั้นฉีดให้ทั่วก้อนเห็ด จากนั้นรอ 3 – 5 วัน ก้อนเห็ดก็จะเริ่มออกดอกใหม่อีกครั้ง


2. กำจัดหอยทาก ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นมักจะเห็นหอยทากแพร่กระจายพันธุ์เยอะมากในหนึ่งปี หอยทากจะวางไข่ได้ 6 ครั้ง ซึ่งหอยทากมักจะเข้าไปกัดกินพืช เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชผัก การกำจัดหอยทากจะใช้น้ำส้มควันไม้ + ปูนขาว 200 กรัม + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณที่มีหอยหอยทากทุก ๆ 7 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง แล้วหอยทากจะค่อย ๆ หายไป



3. ป้องกันโรคไหม้คอรวงข้าว โรคไหม้คอรวงข้าวจะทำให้เมล็ดข้าวลีบแห้ง หากไม่รีบหาทางแก้จะทำให้ผลผลิตเสียหายอย่างมาก วิธีการป้องกันโรคไหม้คอรวงข้าวโดยใช้น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร + น้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นรวงข้าวในช่วงเช้าและช่วงเย็นในทุก ๆ 3 – 5 วัน



เป็นยังไงกันบ้างคะกับประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ด้านการเกษตร ซึ่งน้ำส้มควันไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้านมากไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นผลผลิต การกำจัดศัตรูพืช และการป้องกันโรคต่าง ๆ ในพืช ซึ่งเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ


About Page

Hi, thanks for stopping by!

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

Let the posts
come to you.

Thanks for submitting!

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • Pinterest
bottom of page